rss
email
twitter
facebook

12/26/2555

โลกยุคหลังสมัยใหม่ (Post Modern)



โลกยุคหลังสมัยใหม่ (Post Modern)

แนวคิดหลังยุคนวนิยม

แนวคิดหลังยุคนวนิยม(อังกฤษ: Postmodernism) บางทีใช้คำว่าหลังสมัยใหม่ หรือแนวคิดหลังสมัยใหม่ เป็นแนวคิดทางการเมือง ปรัชญา วัฒนธรรม สังคม ดนตรี และอื่น ๆ ที่ก่อตัวขึ้นโดยมีมุมมองที่ต่างออกไปจากมุมมองทางความคิดแบบเดิม ๆ ของโลก ไม่ว่าจะแนวคิดลัทธิก่อนสมัยใหม่ หรือแนวคิดลัทธิสมัยใหม่ แนวคิดหลังสมัยใหม่ถูกจัดเข้ารวมกับทฤษฎีสายวิพากษ์ (Critical Theory/Critical Scholar)

การกำเนิดของแนวคิดหลังสมัยใหม่

ในช่วงปลายสมัยใหม่ของภูมิปัญญาตะวันตก มีความเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างถูกสร้างขึ้นเพื่อความทันสมัย บางครั้งก็เรียกรวมๆว่าความคิดแบบสมัยใหม่นิยม (modernism) กล่าวได้ว่าความคิดทันสมัยมีรากเหง้ามาจากทฤษฎีความคิดในยุคภูมิปัญญา (enlightenment) นักคิด นักปรัชญาการเมืองในยุคสมัยใหม่แข่งขันกันนำเสนอวิสัยทัศน์ที่เกี่ยวกับชีวิตที่ดี สังคมที่ดี ที่สำคัญคือ แนวคิดเสรีนิยม (liberalism) ที่เห็นว่าปัจเจกบุคคลต้องสละประโยชน์ส่วนตัว หาทางสร้างระบบการเมืองเสรีประชาธิปไตยขึ้นมารองรับ กับแนวคิดมาร์กซิสม์ ที่ต่างต้องการสร้างโลกใหม่ที่ไม่ตกอยู่ภายใต้การขูดรีดจากระบบทุนนิยม ความเชื่อในยุคสมัยใหม่กล่าวได้ว่ามีศรัทธาแรงกล้าต่อความก้าวหน้า (idea of progress) การที่สังคมมีหลักพื้นฐานอันประกอบด้วยสัจจะ ค่านิยมหลัก และความเชื่อมั่นเรื่องสังคมก้าวหน้ารวมเรียกกันว่าแนวคิดสถาปนานิยม (foundationism) ที่พยายามสถาปนาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวให้เกิดขึ้นในสังคมผ่านการสร้างค่านิยม, ความเชื่อต่างๆขึ้นมาครอบครองความคิดมนุษย์ในสังคม

ในเวลาต่อมาจึงเกิดความคิดหลังสมัยใหม่ (postmodern) ที่เสนอให้ปฏิเสธความแน่นอน หนึ่งเดียว นักคิดหลังสมัยใหม่ ปฏิเสธเรื่องสัจจะสมบูรณ์สูงสุดเป็นสากล โดยเห็นว่าเป็นเพียงการโอ้อวด แต่เสนอว่าไม่มีศูนย์กลางความเป็นหนึ่งเดียว และสังคมดำรงอยู่อย่างแตกต่างหลากหลาย (diversity) ความ คิดและแนวคิดใดๆทั้งหมดเป็นเรื่องที่ได้รับการแสดงออกในรูปภาษาโดยที่ภาษา หรือการใช้ภาษาสื่อความหมายนั้นล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทาง อำนาจอันซับซ้อน ดังนั้นปรัชญาและทฤษฎีการเมืองจึงมิอาจอยู่เหนือ หรือตัดขาดจากความสัมพันธ์ทางอำนาจ เช่นกันกับมิอาจให้ความรู้ความเข้าใจได้ด้วยการเป็นกลางไม่โอนเอียง ทฤษฎีการเมืองหรือสัจจะหรือความรู้ใดๆเป็นส่วนหนึ่งโดยนัยของความสัมพันธ์ ทางอำนาจที่นักวิชาการกำลังวิเคราะห์อยู่ นักคิดหลังสมัยใหม่จึงมีลักษณะตั้งข้อกังขาอย่างไม่ลดละต่อสภาพความเป็นจริง ใดๆที่ดูหนักแน่นสมบูรณ์ และความเชื่อต่างๆที่พากันยึดถืออย่างไม่ลืมหูลืม

สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้กล่าวกันว่าได้ก้าวเข้าสู่ยุคหลังสมัยใหม่ (postmodern era) คือความคิดที่ว่าสิ่งที่เป็นจริง (the real) กับสิ่งที่ปรากฏ (apparent) นั้นอาจไม่ใช่เรื่องเดียวกัน ซึ่งเป็นความคิดของฟรีดริช นิทซ์เชอ (Friedrich Wilhelm Nietzsche) ซึ่งความคิดดังกล่าวเข้าไปมีอิทธิพลในวงการศิลปะในช่วงทศวรรษที่ 1920 กล่าวได้ว่าแนวคิดหลังสมัยใหม่ (postmodern) คือการเคลื่อนไหวทางความคิดและวัฒนธรรมที่ต่อต้านนิยาม, ความเชื่อ, ค่านิยม, จารีต, ประเพณีฯลฯ อาทิองค์รวม (totality), ความเป็นเหตุเป็นผล (rationality), ความเป็นสากล(universality), ความเป็นวัตถุวิสัย (objectivity) ฯลฯ ซึ่งนักคิดหลังสมัยใหม่จะตั้งคำถามต่อสิ่งเหล่านี้ในฐานะที่ต่างเป็นเพียง เรื่องเล่าหลัก (meta-narrative)” ที่เกิดขึ้นมาจากข้ออ้างของความเป็นสมัยใหม่ (modernity) ของแนวคิดสมัยใหม่ (modernism)

จากการศึกษาวิเคราะห์สังคมและวัฒนธรรมตะวันตก พอจะได้ภาพปรากฏการณ์ธรรมชาติทั่วไปว่า  สังคมโลกตะวันตกเป็นสังคมที่เจริญพัฒนาถึงจุดสูงสุด พรั่งพร้อมสมบูรณ์ไปด้วยวัตถุ เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์เป็นสังคมที่ผ่านพ้นความเจริญสูงสุดหรือผ่านเลยสังคมอุตสาหกรรมไปแล้ว (Postmodern society or postindustrial society) ผู้คนในยุคนี้หนักไปในการเสพบริโภคใช้สอย ที่เรียกกันว่า สังคมบริโภค (Consumer society) ภูมิหลังทางวัฒนธรรม  เป็นสังคมที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับพระเจ้า เชื่อศรัทธาในเรื่องเทพเจ้า ในสากลโลกนี้ มีพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งทรงพลานุภาพสูงสุดเหนือสิ่งอื่นใด ทรงสร้างสรรค์สรรพสิ่งทุกอย่าง ทรงกำหนดลิขิตบันดาลทุกสิ่งทุกอย่างตามอำนาจของตน ทรงเอาพระทัยใส่ใจดูแลทุกสิ่งทุกอย่างให้ดำเนินไปด้วยดี สร้างมนุษย์ขึ้นมาก็เพื่อให้รู้จักกับพระองค์ท่าน มนุษย์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักคำสั่งสอนของพระองค์ท่าน เพื่อให้พระองค์ท่านโปรดปราน ตายไปแล้วไปอยู่กับพระองค์ท่านในสวรรค์ตลอดกาล ผู้ที่ไม่เคารพศรัทธายำเกรงในพระผู้เป็นเจ้า ตายไปแล้วดวงวิญญาณของเขาก็จะไปอยู่ในนรกตลอดกาลเช่นกัน

แนวคิดและการปฏิบัติในลักษณะนี้ยังมีอิทธิพลแพร่กระจายครอบคลุมไปทั่วสังคม แม้ว่าสังคมตะวันตกเจริญพัฒนาถึงจุดสูงสุด พรั่งพร้อมสมบูรณ์ไปด้วยวัตถุ แทนที่จะสุขสมหวังกับความพรั่งพร้อมสมบูรณ์นั้น แต่กลับผิดหวังหาคุณค่าความหมายของชีวิตไม่ได้เหมือนเดิม กลับสร้างปัญหาก่อความเดือดร้อนให้กับสังคมมากกว่าเดิม เพราะขาดแคลนแร้นแค้นวัฒนธรรมทางจิต เกิดวิกฤตการณ์ทางวัฒนธรรมทางจิตอยู่เสมอ สับสนสงสัยไม่รู้เข้าใจในความจริงของชีวิตและหลักการดำเนินชีวิตอย่างต่อเนื่อง พยายามสนใจใฝ่รู้ในเรื่องความเป็นมนุษย์ คุณภาพมนุษย์ และลักษณะมนุษย์ (General sense of humanity, human qualities and identities) ไม่หยุดยั้งแม้แต่ในปัจจุบัน แม้วิทยาการตะวันตกเป็นแม่แบบแพร่กระจายไปทุกวงวิชาการทั่วโลก ความจริง ความรู้ที่เจริญถึงจุดสูงสุดแบบตะวันตกก็ยังไม่สามารถตอบปัญหาชีวิตทางสังคมได้ จึงสำคัญจำเป็นต้องกลับมาคิดทบทวนกระบวนการความคิดและองค์ความรู้ต่างๆ ทั้งหลายกันใหม่ บนพื้นฐานความจริงสมัยใหม่ทันสมัย 

   

ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ปรากฏแพร่หลายชัดเจน 1970s) ในสังคมโลกตะวันตก เพื่อความเจริญถูกต้องดีงามของชีวิตและสังคม เกิดมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงพัฒนาแนวคิดทางสังคม เป็นการตีความอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมอีกครั้งหนึ่ง ตามปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้น อันนำไปสู่การแตกทำลายหรือมาแทนความคิดสมัยใหม่(Modernism) ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างสมัยใหม่ทันสมัยและหลังสมัยใหม่ เพราะพวกเขาไม่มีความเชื่อมั่นในวิทยาการความรู้ที่มีอยู่ ความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาชีวิตทางสังคมได้อย่างแท้จริง จึงเกิดแนวความคิดทางสังคมตามภาพที่ปรากฏจริงอีกครั้งหนึ่ง ที่เรียกว่า ความคิดหลังสมัยใหม่ทันสมัย (Postmodernism) อันหมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรม ศิลปะ วิทยาการทั้งหลาย ความคิดทฤษฎีทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ความเชื่อและการปฏิบัติ รูปแบบชีวิต หลักการดำเนินชีวิต และเรื่องอื่นๆ ทั้งหลาย ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพัฒนาของโลกสังคมอย่างต่อเนื่องทั้งหมด 

เป็นที่ทราบกันอยู่แล้ว สังคมปัจจุบันเจริญพัฒนาด้านวัตถุถึงจุดสูงสุด ติดต่อสื่อสารกันอย่างสะดวกรวดเร็วทางอินเตอร์เน็ต เห็นทั้งภาพและได้ยินทั้งเสียง ต้องการอะไรก็กดปุ่มเอาตามใจปรารถนา จะไปไหนมาไหน  จะทำงานหรือเรียนอะไร จะติดต่ออะไร จะฝากเงินถอนเงิน จะซักผ้ารีดผ้า จะกินจะดื่มอะไรก็กดปุ่มเอา เป็นยุคดิจิตอล และกดปุ่ม (Digital and push button age) สะดวกสบายพรั่งพร้อมไปทุกอย่าง แทนที่จะมีความสุขแต่กลับทุกข์เป็นปัญหา แทนที่จะรู้เข้าใจปัญหาที่มีอยู่แต่กลับตอบไม่ได้ ปัญหาที่มีอยู่กลับทวีความรุนแรงหนักเข้าไปอีก ทำให้เขาผิดหวังมาก พยายามหาทางแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลง พยายามคิดกันใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่าต่อเนื่อง

ใน โลกแห่งความเป็นจริง มีหลายสิ่งหลายอย่างที่มนุษย์ยังไม่รู้เข้าใจอย่างชัดเจน เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างของเก่ากับใหม่ไม่หยุดยั้ง ชักจูงนำพาสิ่งที่มีอยู่ไปสู่ความจริงขั้นต่อไป มนุษย์ก็พยายามที่จะตามรู้ความจริงของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น เพราะเห็นว่าสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่ดีไม่ถูกต้องและไม่มีผลใน การปฏิบัติ เป็นการศึกษาเรียนรู้ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เป็นเรื่องความเชื่อและการปฏิบัติคุณค่าและรูปแบบพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตาม วิวัฒนาการทางโลกสังคม อันแสดงให้เห็นว่า วิทยาการความรู้บางอย่างที่มีอยู่ยังไม่เป็นความจริงถูกต้อง จึงจำเป็นต้องพยายามแสวงหาความจริงกันต่อไป ในศตวรรษที่ 21  (คือเริ่มตั้งแต่ 2001) นักคิดทางสังคมทั้งหลายจึงพากันคิดและเก็งกระบวนการเปลี่ยนแปลงพัฒนาของโลกสังคมจะเป็นไปในทิศทางใด จะเกิดปรากฎการณ์ทางสังคมอย่างไรกันต่อไป

อ้างอิงจาก ::
http://th.wikipedia.org/wiki/แนวคิดหลังยุคนวนิยม

http://www.mbu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=3226&Itemid=148&limit=1&limitstart=4

Fauvism - Futurism


ศิลปะแบบโฟวิสม์ (Fauvist)

คำว่า โฟวิสม์”  Fauvist  เป็นภาษาฝรั่งเศส แปลว่า สัตว์ป่า”  ลักษณะงานศิลปะแบบโฟวิสม์นี้ สร้างงานจิตรกรรมแนวใหม่  ใช้รูปทรงอิสระ  ใช้สีสดใสตัดกันอย่างรุนแรง  เน้นการสร้างงานตามสัญชาตญาณแห่งการแสดงออกอย่างเต็มที่  ผลงานที่เกิดขึ้นจะแสดงให้เห็นถึงความสนุกสนาน  อันเกิดจากลีลาของรอยแปรงและจังหวะของสิ่งต่าง ๆ   นอกจากนี้ จะนำลีลาของเส้นมาใช้ใหม่ เช่น การตัดเส้นรอบนอกของสิ่งต่าง ๆ เพื่อสร้างความโดดเด่น   

ศิลปินสําคัญ เช่น  อัลแบร์ต  มาร์เกต์ (Albert Marquet, ค.ศ. 1875-1947)  อองรี มาตีสส์ (Henri Matisse, ค.ศ. 1869-1954) เป็นต้น


Henri Matisse: Portrait of Madame Matisse (Green Stripe) C.1905
ภาพ Green Stripe (Madame Matisse)  ภาพนี้เป็นภาพภรรยาของมาตีสเอง  มาตีสใช้ สีที่รุนแรงเด็ดขาดขึ้นไปมากกว่าภาพที่ผ่านมาใช้รูปทรงคร่าว ๆ ง่าย ๆ ขาดรายละเอียดซับซ้อน ใช้สีที่สดตัดกันอย่างง่าย ๆ ใบหน้าของภรรยามาตีส ถูกสีเขียวสดข่มไว้หมด  ส่วนสีที่ป้ายมาตั้งแต่ตีนผมจนจรดคาง ได้แบ่งใบหน้าออกเป็น 2 ซีก  สีโต้ตอบกันไปมารุนแรงตลอดไป ทั่วทั้งสองข้างของใบหน้าที่ถูกแบ่งออก ในส่วนการใช้สีบริเวณฉากหลังของภาพ มาตีสได้อิทธิพลจากโกแกง 


Henri  Matisse: The Joy of Life. 1905-1906.
Oil on Canvas. The Barnes Foundation, Merion, Pennsylvania


ภาพ  The joy of life เป็นภาพธรรมชาติที่มีสีจัด สดใสอยู่ ด้านบนนั้นลงสีด้วยฝีแปรงเป็นอิสระมาก ตรงกันข้ามกับคน ซึ่งอยู่ในความสุข รื่นเริง ด้านล่างของภาพ ที่มีการเน้นเส้นแนวรูปร่างที่ชัดเจน ทั่วทั้งภาพมีคลื่นลอน เลื่อนไหล ใช้สีจัดตัดกัน เป็นภาพความสุข ทางโลกที่แสดงออกในแนวใหม่



Henri Matisse:  Harmony in Red (The Red Room), C.1908

ภาพ  Harmony in Red (The Red Room)  เป็นภาพที่มีแนวคิดปฎิวัติใหม่ในวงการศิลปะสมัยใหม่ เป็นภาพโต๊ะอาหารเช่นเดียวกันกับภาพในสมัยก่อนที่มี แสง สี บริเวณว่าง  การตกแต่งห้องที่ใช้แต่เพียงพื้นสีแดงที่แผ่ไปทั่วเป็นบริเวณแบน ๆ  มีลวดลายคดเคี้ยวแบบ Arabesque ของเถาไม้เลื้อยที่บางส่วนอยู่บนกำแพง  บางส่วนอยู่บนพื้นโต๊ะ   ส่วนบริเวณข้างนอกหน้าต่าง เป็นเพียงภาพต้นไม้บนพื้นเขียว และท้องฟ้าสีฟ้า


ศิลปะแบบฟิวเจอร์ริสม์ (Futurism)



เป็นศิลปะที่เกิดขึ้นในประเทศอิตาลี โดยศิลปินชาวอิตาเลียน  แนวคิดของศิลปะไม่เกี่ยวกับเรื่องสตรีเพศ ไม่สนใจภาพเปลือย  ความงามที่ถือว่าเป็นแนวทางการทํางานของลัทธินี้ คือ เรื่องของความเร็ว วิทยาศาสตร์ เทคนิควิชาการต่างๆ  ศิลปินลัทธิฟิวเจอร์ริสม์นี้ ไม่เห็นด้วยกับความคิดเฟ้อฝัน หรือการหยุดนิ่งอยู่กับที่ จะมีแรงบันดาลใจเกี่ยวกับความงามจากเครื่องไฟฟ้า รถยนต์ หรือเครื่องบิน นอกจากนี้ยังยึดหลัก 2 ประการ คือ ความเคลื่อนไหวของร่างกายในอวกาศ และความเคลื่อนไหวของวิญญานในร่างกาย  หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็น ศิลปะที่ยึดเอาทฤษฎี เกี่ยวกับพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง โดยได้แสดงออกมาด้วยวิธีเขียนภาพที่เต็มไปด้วยความเคลื่อนไหว ความอึกทึกครึกโครม ความสับสน อลหม่าน  


ศิลปินที่สำคัญ เช่น  คาร์โล คาร์รา (Carlo Carra, ค.ศ. 1881-1966)  อุมแบร์โต บ็อคโชนี (Umberto Boccioni, ค.ศ. 1882-1916)  จิอาโคโม แบลลา (Giacomo Balla July 18, 1871 - March 1, 1958) เป็นต้น


Carlo Carrà. "Horse and Rider or Red Rider
(Il cavaliere rosso)", 1913, tempera and ink on woven paper,
Civico Museo d'Arte Contemporanea, Milan

Giacomo Balla : Dynamism of a Dog on a Leash.
C 1912. Oil on canvas  Size 89.9 x 109.9 cm.
Albright-Knox Art Gallery, Buffalo, New York

Unique Forms of Continuity in Space, 1913.
bronze by Umberto Boccioni



อ้างอิงจาก ::
http://www.ipesk.ac.th/ipesk/VISUALART/lesson448.html
http://www.ipesk.ac.th/ipesk/VISUALART/lesson449.html
 

ประวัติศาสตร์ยุโรปยุคเรเนอซองส์


ประวัติศาสตร์ยุโรป ยุคเรเนอซองส์ 1500-1800 AD.



ยุโรปสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ

ผลจากสงครามครูเสด ทำให้สังคมยุโรปเปลี่ยนแปลงไป  วัฒนธรรมเปิดใหม่  ผู้คนเริ่มสนใจในความเป็นมนุษย์มากกว่าพระเจ้า  การค้าทำให้ชนชั้นกลางเริ่มมีฐานะ  อำนาจของขุนนางและจักรพรรดิ์ลดถอยลงไป คนเริ่มสนใจในตำราความรู้ดั้งเดิม จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่

การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) มาจากภาษาฝรั่งเศส หมายถึงการเกิดใหม่ Re-birth  ของการศึกษา การฟื้นฟูอุดมคติ ศิลปะและวรรณกรรมของกรีกและโรมัน เป็นยุคเริ่มต้นของการแสวงหาสิทธิเสรีภาพและความคิดอันไร้ขอบเขตของมนุษย์ ของมนุษย์ที่เคยถูกจำกัดโดยกฎเกณฑ์และข้อบังคับของคริสต์ศาสนา
ยุคการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการเริ่มต้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 และสิ้นสุดลงในกึ่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยถือว่าเป็นจุดเชื่อมต่อของประวัติศาสตร์สมัยกลางและสมัยใหม่

ยุคเรเนซองส์ (Renaissance) อยู่ในช่วงศตวรรษที่ 14-15 เป็นยุคฟุ่มเฟือยที่สุด หรูหราที่สุด กามารมณ์ที่สุด เป็นชื่อช่วงเวลาหรือยุคแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยาการในยุโรป หลังจากที่ได้ผ่านยุคกลางหรือยุคมืด ( Medieval Age ) ซึ่งกินระยะเวลายาวนานกว่า 1000 ปี ตั้งแต่ประมาณศตวรรษที่ 5 ถึง 15

·       การรุ่งเรืองและล่มสลายของอาณาจักรโรมัน
·       การเสื่อมของโรมและการเติบโตของคอนสแตนติโนเปิล
·       การแผ่ขยายอำนาจของอาณาจักรออตโตมัน (มุสลิม - เติร์ก)
·       สงครามครูเสดระหว่างคริสต์และมุสลิมเพื่อแย่งชิงแผ่นดิน ศักดิ์สิทธิ์
·       สงครามหนึ่งร้อยปีระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส
·       นักบุญ Jon of Arc, ความศรัทธาในศาสนาอย่างแรงกล้า

อำนาจที่มากขึ้นของฝ่ายศาสนจักร เรอเนซองส์ จึงเหมือนกับการกลับมาเกิดใหม่ของศิลปะ และหรือ ยุคแห่งการฟื้นฟูศิลปะวิทยา การในยุโรป

ชาวอิตาลี เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาศิลปะการประดิษฐ์ดอกไม้ ไฟขึ้นดอกไม้ไฟรูปแบบใหม่ ๆ ถือเป็นที่เกิดขึ้นในยุคนี้โดยมีการดัดแปลงเพิ่มโลหะกับถ่านไปในส่วนผสมที่ ใช้ทำจรวดซึ่งเมื่อปล่อยขึ้นฟ้าก็จะเปล่งประกายแสง

แนวคิดเรื่องมนุษย์นิยมที่เปลี่ยนไป



วัฒนธรรม ของยุคโบราณเช่นกรีก รวมถึงทัศนะมนุษยนิยมซึ่งต่างจากในยุคกลางที่มีพระเจ้าเป็นศูนย์กลางของ ชีวิต นั่นคือ การกลับมาเน้นเรื่องของ ปัจเจกนิยม มนุษย์ไม่ได้มีชีวิตอยู่เพื่อพระเจ้าเท่านั้น ดังนั้นเขาจึงสามารถแสวงหาความสุขให้กับชีวิตบนโลกนี้ได้



การมองโลก แบบนี้ทำให้เกิดเสรีภาพใหม่ในการพัฒนาตนเอง มีการพัฒนาการในเรื่องของ ศิลปะและสถาปัตยกรรม, วรรณคดี, ดนตรี, ปรัชญา, และวิทยาศาสตร์
 

การปฏิรูปคริสตศาสนา



มีการท้าทายอำนาจของศาสนจักรเพราะเริ่มมีทัศนะใหม่ที่ว่าความสัมพันธ์ ระหว่าง ปัจเจกกับพระเจ้า กลับมีความสำคัญมากกว่าความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์กับคริสตจักร ในฐานะที่เป็นองค์กร บุคคลสำคัญในเรื่องนี้คือ มาร์ติน ลูเธอร์

  



เมื่อ มาร์ติน ลูเธอร์ สงสัยในศาสนจักรจากการที่องค์สันตะปาปา ขายใบไถ่บาปเพื่อนำเงินไปสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ ที่โรม นั่นหมายความว่า "ใครมีเงินก็เข้าสู่สวรรค์ได้" เขาจึงประท้วง (Protest) ศาสนจักรโดยติดใบประท้วงตามโบสถ์ต่างๆ อันเป็นที่มาของ นิกายโปรเตสแตนต์

สันตะปาปาตอบโต้ทันที  ออกคำสั่ง "บัพชนียกรรม"  ทำให้ลูเธอร์ต้องหนีไปเยอรมัน  โชคดีกษัตริย์เยอรมันยอมรับแนวคิดของเขา จึงได้อุปการะไว้  ดังนั้นเขาจึงได้ตั้งนิกายใหม่โดยไม่ขึ้นกับโรมอีกต่อไป
 

มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์

การปฏิวัติวิทยาศาสตร์

มีการพัฒนาการพิมพ์ขึ้นในประเทศเยอรมนีโดย โยฮันน์ กูเทนแบร์ก เป็นผู้ผลิตนวัตกรรม เครื่องพิมพ์ ขึ้นมาเป็นครั้งแรกของโลก เมื่อ ค.ศ.1447 ทำให้เกิดการเผยแพร่ความรู้ แทนการเขียนได้อย่างกว้างขวาง เมื่อข่าวสารสามารถแพร่หลาย ทำให้มนุษย์เริ่มเชื่อมั่นในสติปัญญา และแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้อย่างไร้ขีดจำกัด การพิมพ์ได้เริ่มมีการสร้างสรรค์ขึ้นอย่างจริงจัง นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
การปฏิวัติอุตสาหกรรม
 

·      เริ่มแรกที่อังกฤษ ราวคริสต์ศตวรรษที่ 18 ได้แก่เกษตรกรรม โดยการปิดล้อมรั้วที่นา กำเนิดธนาคารกลาง เป็นแห่งแรก
·      การผลิตเครื่องปั่นด้าย สปินนิงเจนนี่ ทำให้ทุ่นเวลาการผลิต มีผลให้ราคาผ้าฝ้ายลดลง อุตสาหกรรมการทอผ้าขยายตัว
·      เจมส์ วัตต์ ค.ศ.1769 ผลิตเครื่องจักรไอน้ำ มาใช้งานด้วย ทำให้อุตสาหกรรมถลุงเหล็กก้าวหน้า
·      จุดเปลี่ยนการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป คือ เมื่ออังกฤษผลิตรถไฟขึ้นเป็นสายแรและกระจายไปทั่วประเทศ ทำให้การขนส่งสินค้าสะดวกขึ้น นำความเจริญจากเมืองสู่ชนบท ทำให้ประเทศอื่น ๆ ในยุโรปตื่นตัวกันมาก และหันมาสนใจอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง



นักวิทยาศาสตร์

นิโคลัส โคเพอร์นิคัส - โปแลนด์ ค.ศ. 1473-1543 อธิบายทฤษฎีระบบสุริยะจักรวาล  โลกไม่ได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล  แต่โลกเป็นบริวารและหมุนรอบดวงอาทิตย์ แนวคิดนี้ทำให้ขัดแย้งกับความเชื่อดั้งเดิม และความเชื่อของศาสนจักร

กาลิเลโอ - อิตาลี ค.ศ.1564-1642 ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ ทำให้มองเห็นผิวดวงจันทร์ จุดดับบนดวงอาทิตย์
ไอแซก นิวตัน - อังกฤษ ค.ศ.1642-1727 ค้นพบแรงดึงดูดของจักรวาล แรงโน้มถ่วงของโลก

ศิลปกรรม – วรรณกรรม


ยุคกลาง   เน้นในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์  ความเป็นศูนย์กลางของชีวิต  สวรรค์  พระเจ้า

ยุคฟื้นฟูฯ เป็นงานที่เพื่อตอบสนองต่ออารมณ์และความรู้สึกของศิลปินและผู้ชมงานมากขึ้น และขยายขอบเขตออกไปอย่างกว้างขวางทั้งประติมากรรม จิตรกรรม และสถาปัตยกรรม

การใช้วิธีและรูปแบบใหม่ในการวาดภาพ เช่น เรื่องของ perspective, เน้นกายวิภาคที่เป็นจริงมากขึ้น
เดอะวิทรูเวียนแมน - ลีโอนาโด ดาวินชี

ในยุคเดียวกันนี้ก็เริ่มเป็นยุคเสื่อมของ อาณาจักรเขมร หลังจากพระเจ้าชัยวรมัน ที่ 7 ผู้สร้างนครธม สิ้นพระชนม์ และการเติบโตขึ้นของอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยา จนในต้นศตวรรษที่ 15 อาณาจักรเขมรก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของอยุธยาโดยสิ้นเชิง


สถาปัตยกรรม


สร้างวิหารเซนต์ปิเตอร์ และวิหารเซนต์ปอล


ประติมากรรม


ที่โดดเด่น ได้แก่ ผลงานของไมเคิล แองเจลโล คือ

รูปสลัก เดวิด : รูปชายหนุ่มเปลือยกาย , รูปสลัก ลาปิเอตา : รูปพระแม่ประครองพระเยซู

รูปพระแม่ประครองพระเยซู

จิตรกรรม
เริ่มมีการเขียนภาพสามมิติ ( Perspective )


ศิลปินและภาพวาดที่สำคัญได้แก่ ผลงานของ



ไมเคิล แองเจลโล ได้แก่ ภาพ การตัดสินครั้งสุดท้าย” ( The last judgement )


ลีโอนาโด ดาวินชี ได้แก่ ภาพ โมนาลิซา และ อาหารมื้อสุดท้าย” (The last supper)


ราฟาเอล ได้แก่ ภาพพระแม่ พระบุตรและจอห์น แบบติสต์ แสดงความรักต่อแม่ที่มีต่อบุตร เป็นภาพเหมือนจริงที่มีชีวิตจิตใจ


วรรณกรรม


1.      เน้นแนวมนุษยนิยม ใช้ภาษาท้องถิ่นแทนภาษาละติน
2.      วรรณกรรม สำคัญ ได้แก่
·       เจ้าผู้ครองนคร ( The prince ) ของ นิโคไล มาเคียเวลลี บรรยายถึงศิลปะการปกครองของเจ้านคร
·       Utopia ของ โทมัสมอร์ กล่าวถึงเมืองในอุดมคติที่ปราศจากความเลวร้าย
·       คัมภีร์ ไบเบิลใหม่ของ อีรัสมุส แห่งรอตเตอร์ดัม
·       บทละครของ วิลเลี่ยม เชกสเปียร์ ได้แก่ โรมีโอและจูเลียต เวนิสวาณิช คิงเลียร์ แมคเบท ฝันคืนกลางฤดูร้อน เป็นต้น ซึ่งบทละครเหล่านี้จะสะท้อนให้เห็นถึงอารมณ์ อุปนิสัย และการตัดสินใจของมนุษย์ในภาวการณ์ต่างๆกัน


ปรัชญาแนวคิดสำคัญ
มนุษย์นิยม ธรรมชาตินิยม รวมกับแนวคิดของศาสนาตริสต์

นักปราชญ์
 
โทมัส ฮอบ - เชื่อว่ามนุษย์ต้องเชื่อเหตุผลและวิทยาศาสตร์ สนับสนุนระบบกษัตริย์

จอห์น ล็อค - มีอิทธิพลต่อแนวคิดประชาธิปไตยสมัยใหม่ เชื่อว่าประชาชนเป็นที่มาของอำนาจทางการเมืองและจัดตั้งรัฐบาล

มอง เตสกิเออร์ - มีแนวคิดเรื่องกฎหมายของแต่ละสังคมที่บัญญัติขึ้นอยู่กับแต่ละสภาพของท้อง ถิ่นนั้น ๆ และอำนาจการปกครองต้องมี 3 ฝ่าย คือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ

วอลแตร์ - คัดค้านระบบการปกครองแบบเผด็จการ (กษัตริย์) การใช้สติปัญญาและเหตุผลสามารถแก้ไขปัญหาสังคม และการเมืองได้


อ้างอิงจาก ::


http://social-ave.exteen.com/20110209/entry-1
 

อ้างอิงจาก ::

http://social-ave.exteen.com/20110209/entry-1