rss
email
twitter
facebook

12/26/2555

Fauvism - Futurism


ศิลปะแบบโฟวิสม์ (Fauvist)

คำว่า โฟวิสม์”  Fauvist  เป็นภาษาฝรั่งเศส แปลว่า สัตว์ป่า”  ลักษณะงานศิลปะแบบโฟวิสม์นี้ สร้างงานจิตรกรรมแนวใหม่  ใช้รูปทรงอิสระ  ใช้สีสดใสตัดกันอย่างรุนแรง  เน้นการสร้างงานตามสัญชาตญาณแห่งการแสดงออกอย่างเต็มที่  ผลงานที่เกิดขึ้นจะแสดงให้เห็นถึงความสนุกสนาน  อันเกิดจากลีลาของรอยแปรงและจังหวะของสิ่งต่าง ๆ   นอกจากนี้ จะนำลีลาของเส้นมาใช้ใหม่ เช่น การตัดเส้นรอบนอกของสิ่งต่าง ๆ เพื่อสร้างความโดดเด่น   

ศิลปินสําคัญ เช่น  อัลแบร์ต  มาร์เกต์ (Albert Marquet, ค.ศ. 1875-1947)  อองรี มาตีสส์ (Henri Matisse, ค.ศ. 1869-1954) เป็นต้น


Henri Matisse: Portrait of Madame Matisse (Green Stripe) C.1905
ภาพ Green Stripe (Madame Matisse)  ภาพนี้เป็นภาพภรรยาของมาตีสเอง  มาตีสใช้ สีที่รุนแรงเด็ดขาดขึ้นไปมากกว่าภาพที่ผ่านมาใช้รูปทรงคร่าว ๆ ง่าย ๆ ขาดรายละเอียดซับซ้อน ใช้สีที่สดตัดกันอย่างง่าย ๆ ใบหน้าของภรรยามาตีส ถูกสีเขียวสดข่มไว้หมด  ส่วนสีที่ป้ายมาตั้งแต่ตีนผมจนจรดคาง ได้แบ่งใบหน้าออกเป็น 2 ซีก  สีโต้ตอบกันไปมารุนแรงตลอดไป ทั่วทั้งสองข้างของใบหน้าที่ถูกแบ่งออก ในส่วนการใช้สีบริเวณฉากหลังของภาพ มาตีสได้อิทธิพลจากโกแกง 


Henri  Matisse: The Joy of Life. 1905-1906.
Oil on Canvas. The Barnes Foundation, Merion, Pennsylvania


ภาพ  The joy of life เป็นภาพธรรมชาติที่มีสีจัด สดใสอยู่ ด้านบนนั้นลงสีด้วยฝีแปรงเป็นอิสระมาก ตรงกันข้ามกับคน ซึ่งอยู่ในความสุข รื่นเริง ด้านล่างของภาพ ที่มีการเน้นเส้นแนวรูปร่างที่ชัดเจน ทั่วทั้งภาพมีคลื่นลอน เลื่อนไหล ใช้สีจัดตัดกัน เป็นภาพความสุข ทางโลกที่แสดงออกในแนวใหม่



Henri Matisse:  Harmony in Red (The Red Room), C.1908

ภาพ  Harmony in Red (The Red Room)  เป็นภาพที่มีแนวคิดปฎิวัติใหม่ในวงการศิลปะสมัยใหม่ เป็นภาพโต๊ะอาหารเช่นเดียวกันกับภาพในสมัยก่อนที่มี แสง สี บริเวณว่าง  การตกแต่งห้องที่ใช้แต่เพียงพื้นสีแดงที่แผ่ไปทั่วเป็นบริเวณแบน ๆ  มีลวดลายคดเคี้ยวแบบ Arabesque ของเถาไม้เลื้อยที่บางส่วนอยู่บนกำแพง  บางส่วนอยู่บนพื้นโต๊ะ   ส่วนบริเวณข้างนอกหน้าต่าง เป็นเพียงภาพต้นไม้บนพื้นเขียว และท้องฟ้าสีฟ้า


ศิลปะแบบฟิวเจอร์ริสม์ (Futurism)



เป็นศิลปะที่เกิดขึ้นในประเทศอิตาลี โดยศิลปินชาวอิตาเลียน  แนวคิดของศิลปะไม่เกี่ยวกับเรื่องสตรีเพศ ไม่สนใจภาพเปลือย  ความงามที่ถือว่าเป็นแนวทางการทํางานของลัทธินี้ คือ เรื่องของความเร็ว วิทยาศาสตร์ เทคนิควิชาการต่างๆ  ศิลปินลัทธิฟิวเจอร์ริสม์นี้ ไม่เห็นด้วยกับความคิดเฟ้อฝัน หรือการหยุดนิ่งอยู่กับที่ จะมีแรงบันดาลใจเกี่ยวกับความงามจากเครื่องไฟฟ้า รถยนต์ หรือเครื่องบิน นอกจากนี้ยังยึดหลัก 2 ประการ คือ ความเคลื่อนไหวของร่างกายในอวกาศ และความเคลื่อนไหวของวิญญานในร่างกาย  หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็น ศิลปะที่ยึดเอาทฤษฎี เกี่ยวกับพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง โดยได้แสดงออกมาด้วยวิธีเขียนภาพที่เต็มไปด้วยความเคลื่อนไหว ความอึกทึกครึกโครม ความสับสน อลหม่าน  


ศิลปินที่สำคัญ เช่น  คาร์โล คาร์รา (Carlo Carra, ค.ศ. 1881-1966)  อุมแบร์โต บ็อคโชนี (Umberto Boccioni, ค.ศ. 1882-1916)  จิอาโคโม แบลลา (Giacomo Balla July 18, 1871 - March 1, 1958) เป็นต้น


Carlo Carrà. "Horse and Rider or Red Rider
(Il cavaliere rosso)", 1913, tempera and ink on woven paper,
Civico Museo d'Arte Contemporanea, Milan

Giacomo Balla : Dynamism of a Dog on a Leash.
C 1912. Oil on canvas  Size 89.9 x 109.9 cm.
Albright-Knox Art Gallery, Buffalo, New York

Unique Forms of Continuity in Space, 1913.
bronze by Umberto Boccioni



อ้างอิงจาก ::
http://www.ipesk.ac.th/ipesk/VISUALART/lesson448.html
http://www.ipesk.ac.th/ipesk/VISUALART/lesson449.html
 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น