rss
email
twitter
facebook

12/26/2555

โลกยุคหลังสมัยใหม่ (Post Modern)



โลกยุคหลังสมัยใหม่ (Post Modern)

แนวคิดหลังยุคนวนิยม

แนวคิดหลังยุคนวนิยม(อังกฤษ: Postmodernism) บางทีใช้คำว่าหลังสมัยใหม่ หรือแนวคิดหลังสมัยใหม่ เป็นแนวคิดทางการเมือง ปรัชญา วัฒนธรรม สังคม ดนตรี และอื่น ๆ ที่ก่อตัวขึ้นโดยมีมุมมองที่ต่างออกไปจากมุมมองทางความคิดแบบเดิม ๆ ของโลก ไม่ว่าจะแนวคิดลัทธิก่อนสมัยใหม่ หรือแนวคิดลัทธิสมัยใหม่ แนวคิดหลังสมัยใหม่ถูกจัดเข้ารวมกับทฤษฎีสายวิพากษ์ (Critical Theory/Critical Scholar)

การกำเนิดของแนวคิดหลังสมัยใหม่

ในช่วงปลายสมัยใหม่ของภูมิปัญญาตะวันตก มีความเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างถูกสร้างขึ้นเพื่อความทันสมัย บางครั้งก็เรียกรวมๆว่าความคิดแบบสมัยใหม่นิยม (modernism) กล่าวได้ว่าความคิดทันสมัยมีรากเหง้ามาจากทฤษฎีความคิดในยุคภูมิปัญญา (enlightenment) นักคิด นักปรัชญาการเมืองในยุคสมัยใหม่แข่งขันกันนำเสนอวิสัยทัศน์ที่เกี่ยวกับชีวิตที่ดี สังคมที่ดี ที่สำคัญคือ แนวคิดเสรีนิยม (liberalism) ที่เห็นว่าปัจเจกบุคคลต้องสละประโยชน์ส่วนตัว หาทางสร้างระบบการเมืองเสรีประชาธิปไตยขึ้นมารองรับ กับแนวคิดมาร์กซิสม์ ที่ต่างต้องการสร้างโลกใหม่ที่ไม่ตกอยู่ภายใต้การขูดรีดจากระบบทุนนิยม ความเชื่อในยุคสมัยใหม่กล่าวได้ว่ามีศรัทธาแรงกล้าต่อความก้าวหน้า (idea of progress) การที่สังคมมีหลักพื้นฐานอันประกอบด้วยสัจจะ ค่านิยมหลัก และความเชื่อมั่นเรื่องสังคมก้าวหน้ารวมเรียกกันว่าแนวคิดสถาปนานิยม (foundationism) ที่พยายามสถาปนาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวให้เกิดขึ้นในสังคมผ่านการสร้างค่านิยม, ความเชื่อต่างๆขึ้นมาครอบครองความคิดมนุษย์ในสังคม

ในเวลาต่อมาจึงเกิดความคิดหลังสมัยใหม่ (postmodern) ที่เสนอให้ปฏิเสธความแน่นอน หนึ่งเดียว นักคิดหลังสมัยใหม่ ปฏิเสธเรื่องสัจจะสมบูรณ์สูงสุดเป็นสากล โดยเห็นว่าเป็นเพียงการโอ้อวด แต่เสนอว่าไม่มีศูนย์กลางความเป็นหนึ่งเดียว และสังคมดำรงอยู่อย่างแตกต่างหลากหลาย (diversity) ความ คิดและแนวคิดใดๆทั้งหมดเป็นเรื่องที่ได้รับการแสดงออกในรูปภาษาโดยที่ภาษา หรือการใช้ภาษาสื่อความหมายนั้นล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทาง อำนาจอันซับซ้อน ดังนั้นปรัชญาและทฤษฎีการเมืองจึงมิอาจอยู่เหนือ หรือตัดขาดจากความสัมพันธ์ทางอำนาจ เช่นกันกับมิอาจให้ความรู้ความเข้าใจได้ด้วยการเป็นกลางไม่โอนเอียง ทฤษฎีการเมืองหรือสัจจะหรือความรู้ใดๆเป็นส่วนหนึ่งโดยนัยของความสัมพันธ์ ทางอำนาจที่นักวิชาการกำลังวิเคราะห์อยู่ นักคิดหลังสมัยใหม่จึงมีลักษณะตั้งข้อกังขาอย่างไม่ลดละต่อสภาพความเป็นจริง ใดๆที่ดูหนักแน่นสมบูรณ์ และความเชื่อต่างๆที่พากันยึดถืออย่างไม่ลืมหูลืม

สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้กล่าวกันว่าได้ก้าวเข้าสู่ยุคหลังสมัยใหม่ (postmodern era) คือความคิดที่ว่าสิ่งที่เป็นจริง (the real) กับสิ่งที่ปรากฏ (apparent) นั้นอาจไม่ใช่เรื่องเดียวกัน ซึ่งเป็นความคิดของฟรีดริช นิทซ์เชอ (Friedrich Wilhelm Nietzsche) ซึ่งความคิดดังกล่าวเข้าไปมีอิทธิพลในวงการศิลปะในช่วงทศวรรษที่ 1920 กล่าวได้ว่าแนวคิดหลังสมัยใหม่ (postmodern) คือการเคลื่อนไหวทางความคิดและวัฒนธรรมที่ต่อต้านนิยาม, ความเชื่อ, ค่านิยม, จารีต, ประเพณีฯลฯ อาทิองค์รวม (totality), ความเป็นเหตุเป็นผล (rationality), ความเป็นสากล(universality), ความเป็นวัตถุวิสัย (objectivity) ฯลฯ ซึ่งนักคิดหลังสมัยใหม่จะตั้งคำถามต่อสิ่งเหล่านี้ในฐานะที่ต่างเป็นเพียง เรื่องเล่าหลัก (meta-narrative)” ที่เกิดขึ้นมาจากข้ออ้างของความเป็นสมัยใหม่ (modernity) ของแนวคิดสมัยใหม่ (modernism)

จากการศึกษาวิเคราะห์สังคมและวัฒนธรรมตะวันตก พอจะได้ภาพปรากฏการณ์ธรรมชาติทั่วไปว่า  สังคมโลกตะวันตกเป็นสังคมที่เจริญพัฒนาถึงจุดสูงสุด พรั่งพร้อมสมบูรณ์ไปด้วยวัตถุ เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์เป็นสังคมที่ผ่านพ้นความเจริญสูงสุดหรือผ่านเลยสังคมอุตสาหกรรมไปแล้ว (Postmodern society or postindustrial society) ผู้คนในยุคนี้หนักไปในการเสพบริโภคใช้สอย ที่เรียกกันว่า สังคมบริโภค (Consumer society) ภูมิหลังทางวัฒนธรรม  เป็นสังคมที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับพระเจ้า เชื่อศรัทธาในเรื่องเทพเจ้า ในสากลโลกนี้ มีพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งทรงพลานุภาพสูงสุดเหนือสิ่งอื่นใด ทรงสร้างสรรค์สรรพสิ่งทุกอย่าง ทรงกำหนดลิขิตบันดาลทุกสิ่งทุกอย่างตามอำนาจของตน ทรงเอาพระทัยใส่ใจดูแลทุกสิ่งทุกอย่างให้ดำเนินไปด้วยดี สร้างมนุษย์ขึ้นมาก็เพื่อให้รู้จักกับพระองค์ท่าน มนุษย์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักคำสั่งสอนของพระองค์ท่าน เพื่อให้พระองค์ท่านโปรดปราน ตายไปแล้วไปอยู่กับพระองค์ท่านในสวรรค์ตลอดกาล ผู้ที่ไม่เคารพศรัทธายำเกรงในพระผู้เป็นเจ้า ตายไปแล้วดวงวิญญาณของเขาก็จะไปอยู่ในนรกตลอดกาลเช่นกัน

แนวคิดและการปฏิบัติในลักษณะนี้ยังมีอิทธิพลแพร่กระจายครอบคลุมไปทั่วสังคม แม้ว่าสังคมตะวันตกเจริญพัฒนาถึงจุดสูงสุด พรั่งพร้อมสมบูรณ์ไปด้วยวัตถุ แทนที่จะสุขสมหวังกับความพรั่งพร้อมสมบูรณ์นั้น แต่กลับผิดหวังหาคุณค่าความหมายของชีวิตไม่ได้เหมือนเดิม กลับสร้างปัญหาก่อความเดือดร้อนให้กับสังคมมากกว่าเดิม เพราะขาดแคลนแร้นแค้นวัฒนธรรมทางจิต เกิดวิกฤตการณ์ทางวัฒนธรรมทางจิตอยู่เสมอ สับสนสงสัยไม่รู้เข้าใจในความจริงของชีวิตและหลักการดำเนินชีวิตอย่างต่อเนื่อง พยายามสนใจใฝ่รู้ในเรื่องความเป็นมนุษย์ คุณภาพมนุษย์ และลักษณะมนุษย์ (General sense of humanity, human qualities and identities) ไม่หยุดยั้งแม้แต่ในปัจจุบัน แม้วิทยาการตะวันตกเป็นแม่แบบแพร่กระจายไปทุกวงวิชาการทั่วโลก ความจริง ความรู้ที่เจริญถึงจุดสูงสุดแบบตะวันตกก็ยังไม่สามารถตอบปัญหาชีวิตทางสังคมได้ จึงสำคัญจำเป็นต้องกลับมาคิดทบทวนกระบวนการความคิดและองค์ความรู้ต่างๆ ทั้งหลายกันใหม่ บนพื้นฐานความจริงสมัยใหม่ทันสมัย 

   

ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ปรากฏแพร่หลายชัดเจน 1970s) ในสังคมโลกตะวันตก เพื่อความเจริญถูกต้องดีงามของชีวิตและสังคม เกิดมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงพัฒนาแนวคิดทางสังคม เป็นการตีความอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมอีกครั้งหนึ่ง ตามปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้น อันนำไปสู่การแตกทำลายหรือมาแทนความคิดสมัยใหม่(Modernism) ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างสมัยใหม่ทันสมัยและหลังสมัยใหม่ เพราะพวกเขาไม่มีความเชื่อมั่นในวิทยาการความรู้ที่มีอยู่ ความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาชีวิตทางสังคมได้อย่างแท้จริง จึงเกิดแนวความคิดทางสังคมตามภาพที่ปรากฏจริงอีกครั้งหนึ่ง ที่เรียกว่า ความคิดหลังสมัยใหม่ทันสมัย (Postmodernism) อันหมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรม ศิลปะ วิทยาการทั้งหลาย ความคิดทฤษฎีทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ความเชื่อและการปฏิบัติ รูปแบบชีวิต หลักการดำเนินชีวิต และเรื่องอื่นๆ ทั้งหลาย ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพัฒนาของโลกสังคมอย่างต่อเนื่องทั้งหมด 

เป็นที่ทราบกันอยู่แล้ว สังคมปัจจุบันเจริญพัฒนาด้านวัตถุถึงจุดสูงสุด ติดต่อสื่อสารกันอย่างสะดวกรวดเร็วทางอินเตอร์เน็ต เห็นทั้งภาพและได้ยินทั้งเสียง ต้องการอะไรก็กดปุ่มเอาตามใจปรารถนา จะไปไหนมาไหน  จะทำงานหรือเรียนอะไร จะติดต่ออะไร จะฝากเงินถอนเงิน จะซักผ้ารีดผ้า จะกินจะดื่มอะไรก็กดปุ่มเอา เป็นยุคดิจิตอล และกดปุ่ม (Digital and push button age) สะดวกสบายพรั่งพร้อมไปทุกอย่าง แทนที่จะมีความสุขแต่กลับทุกข์เป็นปัญหา แทนที่จะรู้เข้าใจปัญหาที่มีอยู่แต่กลับตอบไม่ได้ ปัญหาที่มีอยู่กลับทวีความรุนแรงหนักเข้าไปอีก ทำให้เขาผิดหวังมาก พยายามหาทางแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลง พยายามคิดกันใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่าต่อเนื่อง

ใน โลกแห่งความเป็นจริง มีหลายสิ่งหลายอย่างที่มนุษย์ยังไม่รู้เข้าใจอย่างชัดเจน เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างของเก่ากับใหม่ไม่หยุดยั้ง ชักจูงนำพาสิ่งที่มีอยู่ไปสู่ความจริงขั้นต่อไป มนุษย์ก็พยายามที่จะตามรู้ความจริงของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น เพราะเห็นว่าสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่ดีไม่ถูกต้องและไม่มีผลใน การปฏิบัติ เป็นการศึกษาเรียนรู้ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เป็นเรื่องความเชื่อและการปฏิบัติคุณค่าและรูปแบบพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตาม วิวัฒนาการทางโลกสังคม อันแสดงให้เห็นว่า วิทยาการความรู้บางอย่างที่มีอยู่ยังไม่เป็นความจริงถูกต้อง จึงจำเป็นต้องพยายามแสวงหาความจริงกันต่อไป ในศตวรรษที่ 21  (คือเริ่มตั้งแต่ 2001) นักคิดทางสังคมทั้งหลายจึงพากันคิดและเก็งกระบวนการเปลี่ยนแปลงพัฒนาของโลกสังคมจะเป็นไปในทิศทางใด จะเกิดปรากฎการณ์ทางสังคมอย่างไรกันต่อไป

อ้างอิงจาก ::
http://th.wikipedia.org/wiki/แนวคิดหลังยุคนวนิยม

http://www.mbu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=3226&Itemid=148&limit=1&limitstart=4

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น