rss
email
twitter
facebook

12/26/2555

ประวัติศาสตร์ยุโรปยุคเรเนอซองส์


ประวัติศาสตร์ยุโรป ยุคเรเนอซองส์ 1500-1800 AD.



ยุโรปสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ

ผลจากสงครามครูเสด ทำให้สังคมยุโรปเปลี่ยนแปลงไป  วัฒนธรรมเปิดใหม่  ผู้คนเริ่มสนใจในความเป็นมนุษย์มากกว่าพระเจ้า  การค้าทำให้ชนชั้นกลางเริ่มมีฐานะ  อำนาจของขุนนางและจักรพรรดิ์ลดถอยลงไป คนเริ่มสนใจในตำราความรู้ดั้งเดิม จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่

การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) มาจากภาษาฝรั่งเศส หมายถึงการเกิดใหม่ Re-birth  ของการศึกษา การฟื้นฟูอุดมคติ ศิลปะและวรรณกรรมของกรีกและโรมัน เป็นยุคเริ่มต้นของการแสวงหาสิทธิเสรีภาพและความคิดอันไร้ขอบเขตของมนุษย์ ของมนุษย์ที่เคยถูกจำกัดโดยกฎเกณฑ์และข้อบังคับของคริสต์ศาสนา
ยุคการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการเริ่มต้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 และสิ้นสุดลงในกึ่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยถือว่าเป็นจุดเชื่อมต่อของประวัติศาสตร์สมัยกลางและสมัยใหม่

ยุคเรเนซองส์ (Renaissance) อยู่ในช่วงศตวรรษที่ 14-15 เป็นยุคฟุ่มเฟือยที่สุด หรูหราที่สุด กามารมณ์ที่สุด เป็นชื่อช่วงเวลาหรือยุคแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยาการในยุโรป หลังจากที่ได้ผ่านยุคกลางหรือยุคมืด ( Medieval Age ) ซึ่งกินระยะเวลายาวนานกว่า 1000 ปี ตั้งแต่ประมาณศตวรรษที่ 5 ถึง 15

·       การรุ่งเรืองและล่มสลายของอาณาจักรโรมัน
·       การเสื่อมของโรมและการเติบโตของคอนสแตนติโนเปิล
·       การแผ่ขยายอำนาจของอาณาจักรออตโตมัน (มุสลิม - เติร์ก)
·       สงครามครูเสดระหว่างคริสต์และมุสลิมเพื่อแย่งชิงแผ่นดิน ศักดิ์สิทธิ์
·       สงครามหนึ่งร้อยปีระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส
·       นักบุญ Jon of Arc, ความศรัทธาในศาสนาอย่างแรงกล้า

อำนาจที่มากขึ้นของฝ่ายศาสนจักร เรอเนซองส์ จึงเหมือนกับการกลับมาเกิดใหม่ของศิลปะ และหรือ ยุคแห่งการฟื้นฟูศิลปะวิทยา การในยุโรป

ชาวอิตาลี เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาศิลปะการประดิษฐ์ดอกไม้ ไฟขึ้นดอกไม้ไฟรูปแบบใหม่ ๆ ถือเป็นที่เกิดขึ้นในยุคนี้โดยมีการดัดแปลงเพิ่มโลหะกับถ่านไปในส่วนผสมที่ ใช้ทำจรวดซึ่งเมื่อปล่อยขึ้นฟ้าก็จะเปล่งประกายแสง

แนวคิดเรื่องมนุษย์นิยมที่เปลี่ยนไป



วัฒนธรรม ของยุคโบราณเช่นกรีก รวมถึงทัศนะมนุษยนิยมซึ่งต่างจากในยุคกลางที่มีพระเจ้าเป็นศูนย์กลางของ ชีวิต นั่นคือ การกลับมาเน้นเรื่องของ ปัจเจกนิยม มนุษย์ไม่ได้มีชีวิตอยู่เพื่อพระเจ้าเท่านั้น ดังนั้นเขาจึงสามารถแสวงหาความสุขให้กับชีวิตบนโลกนี้ได้



การมองโลก แบบนี้ทำให้เกิดเสรีภาพใหม่ในการพัฒนาตนเอง มีการพัฒนาการในเรื่องของ ศิลปะและสถาปัตยกรรม, วรรณคดี, ดนตรี, ปรัชญา, และวิทยาศาสตร์
 

การปฏิรูปคริสตศาสนา



มีการท้าทายอำนาจของศาสนจักรเพราะเริ่มมีทัศนะใหม่ที่ว่าความสัมพันธ์ ระหว่าง ปัจเจกกับพระเจ้า กลับมีความสำคัญมากกว่าความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์กับคริสตจักร ในฐานะที่เป็นองค์กร บุคคลสำคัญในเรื่องนี้คือ มาร์ติน ลูเธอร์

  



เมื่อ มาร์ติน ลูเธอร์ สงสัยในศาสนจักรจากการที่องค์สันตะปาปา ขายใบไถ่บาปเพื่อนำเงินไปสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ ที่โรม นั่นหมายความว่า "ใครมีเงินก็เข้าสู่สวรรค์ได้" เขาจึงประท้วง (Protest) ศาสนจักรโดยติดใบประท้วงตามโบสถ์ต่างๆ อันเป็นที่มาของ นิกายโปรเตสแตนต์

สันตะปาปาตอบโต้ทันที  ออกคำสั่ง "บัพชนียกรรม"  ทำให้ลูเธอร์ต้องหนีไปเยอรมัน  โชคดีกษัตริย์เยอรมันยอมรับแนวคิดของเขา จึงได้อุปการะไว้  ดังนั้นเขาจึงได้ตั้งนิกายใหม่โดยไม่ขึ้นกับโรมอีกต่อไป
 

มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์

การปฏิวัติวิทยาศาสตร์

มีการพัฒนาการพิมพ์ขึ้นในประเทศเยอรมนีโดย โยฮันน์ กูเทนแบร์ก เป็นผู้ผลิตนวัตกรรม เครื่องพิมพ์ ขึ้นมาเป็นครั้งแรกของโลก เมื่อ ค.ศ.1447 ทำให้เกิดการเผยแพร่ความรู้ แทนการเขียนได้อย่างกว้างขวาง เมื่อข่าวสารสามารถแพร่หลาย ทำให้มนุษย์เริ่มเชื่อมั่นในสติปัญญา และแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้อย่างไร้ขีดจำกัด การพิมพ์ได้เริ่มมีการสร้างสรรค์ขึ้นอย่างจริงจัง นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
การปฏิวัติอุตสาหกรรม
 

·      เริ่มแรกที่อังกฤษ ราวคริสต์ศตวรรษที่ 18 ได้แก่เกษตรกรรม โดยการปิดล้อมรั้วที่นา กำเนิดธนาคารกลาง เป็นแห่งแรก
·      การผลิตเครื่องปั่นด้าย สปินนิงเจนนี่ ทำให้ทุ่นเวลาการผลิต มีผลให้ราคาผ้าฝ้ายลดลง อุตสาหกรรมการทอผ้าขยายตัว
·      เจมส์ วัตต์ ค.ศ.1769 ผลิตเครื่องจักรไอน้ำ มาใช้งานด้วย ทำให้อุตสาหกรรมถลุงเหล็กก้าวหน้า
·      จุดเปลี่ยนการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป คือ เมื่ออังกฤษผลิตรถไฟขึ้นเป็นสายแรและกระจายไปทั่วประเทศ ทำให้การขนส่งสินค้าสะดวกขึ้น นำความเจริญจากเมืองสู่ชนบท ทำให้ประเทศอื่น ๆ ในยุโรปตื่นตัวกันมาก และหันมาสนใจอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง



นักวิทยาศาสตร์

นิโคลัส โคเพอร์นิคัส - โปแลนด์ ค.ศ. 1473-1543 อธิบายทฤษฎีระบบสุริยะจักรวาล  โลกไม่ได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล  แต่โลกเป็นบริวารและหมุนรอบดวงอาทิตย์ แนวคิดนี้ทำให้ขัดแย้งกับความเชื่อดั้งเดิม และความเชื่อของศาสนจักร

กาลิเลโอ - อิตาลี ค.ศ.1564-1642 ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ ทำให้มองเห็นผิวดวงจันทร์ จุดดับบนดวงอาทิตย์
ไอแซก นิวตัน - อังกฤษ ค.ศ.1642-1727 ค้นพบแรงดึงดูดของจักรวาล แรงโน้มถ่วงของโลก

ศิลปกรรม – วรรณกรรม


ยุคกลาง   เน้นในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์  ความเป็นศูนย์กลางของชีวิต  สวรรค์  พระเจ้า

ยุคฟื้นฟูฯ เป็นงานที่เพื่อตอบสนองต่ออารมณ์และความรู้สึกของศิลปินและผู้ชมงานมากขึ้น และขยายขอบเขตออกไปอย่างกว้างขวางทั้งประติมากรรม จิตรกรรม และสถาปัตยกรรม

การใช้วิธีและรูปแบบใหม่ในการวาดภาพ เช่น เรื่องของ perspective, เน้นกายวิภาคที่เป็นจริงมากขึ้น
เดอะวิทรูเวียนแมน - ลีโอนาโด ดาวินชี

ในยุคเดียวกันนี้ก็เริ่มเป็นยุคเสื่อมของ อาณาจักรเขมร หลังจากพระเจ้าชัยวรมัน ที่ 7 ผู้สร้างนครธม สิ้นพระชนม์ และการเติบโตขึ้นของอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยา จนในต้นศตวรรษที่ 15 อาณาจักรเขมรก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของอยุธยาโดยสิ้นเชิง


สถาปัตยกรรม


สร้างวิหารเซนต์ปิเตอร์ และวิหารเซนต์ปอล


ประติมากรรม


ที่โดดเด่น ได้แก่ ผลงานของไมเคิล แองเจลโล คือ

รูปสลัก เดวิด : รูปชายหนุ่มเปลือยกาย , รูปสลัก ลาปิเอตา : รูปพระแม่ประครองพระเยซู

รูปพระแม่ประครองพระเยซู

จิตรกรรม
เริ่มมีการเขียนภาพสามมิติ ( Perspective )


ศิลปินและภาพวาดที่สำคัญได้แก่ ผลงานของ



ไมเคิล แองเจลโล ได้แก่ ภาพ การตัดสินครั้งสุดท้าย” ( The last judgement )


ลีโอนาโด ดาวินชี ได้แก่ ภาพ โมนาลิซา และ อาหารมื้อสุดท้าย” (The last supper)


ราฟาเอล ได้แก่ ภาพพระแม่ พระบุตรและจอห์น แบบติสต์ แสดงความรักต่อแม่ที่มีต่อบุตร เป็นภาพเหมือนจริงที่มีชีวิตจิตใจ


วรรณกรรม


1.      เน้นแนวมนุษยนิยม ใช้ภาษาท้องถิ่นแทนภาษาละติน
2.      วรรณกรรม สำคัญ ได้แก่
·       เจ้าผู้ครองนคร ( The prince ) ของ นิโคไล มาเคียเวลลี บรรยายถึงศิลปะการปกครองของเจ้านคร
·       Utopia ของ โทมัสมอร์ กล่าวถึงเมืองในอุดมคติที่ปราศจากความเลวร้าย
·       คัมภีร์ ไบเบิลใหม่ของ อีรัสมุส แห่งรอตเตอร์ดัม
·       บทละครของ วิลเลี่ยม เชกสเปียร์ ได้แก่ โรมีโอและจูเลียต เวนิสวาณิช คิงเลียร์ แมคเบท ฝันคืนกลางฤดูร้อน เป็นต้น ซึ่งบทละครเหล่านี้จะสะท้อนให้เห็นถึงอารมณ์ อุปนิสัย และการตัดสินใจของมนุษย์ในภาวการณ์ต่างๆกัน


ปรัชญาแนวคิดสำคัญ
มนุษย์นิยม ธรรมชาตินิยม รวมกับแนวคิดของศาสนาตริสต์

นักปราชญ์
 
โทมัส ฮอบ - เชื่อว่ามนุษย์ต้องเชื่อเหตุผลและวิทยาศาสตร์ สนับสนุนระบบกษัตริย์

จอห์น ล็อค - มีอิทธิพลต่อแนวคิดประชาธิปไตยสมัยใหม่ เชื่อว่าประชาชนเป็นที่มาของอำนาจทางการเมืองและจัดตั้งรัฐบาล

มอง เตสกิเออร์ - มีแนวคิดเรื่องกฎหมายของแต่ละสังคมที่บัญญัติขึ้นอยู่กับแต่ละสภาพของท้อง ถิ่นนั้น ๆ และอำนาจการปกครองต้องมี 3 ฝ่าย คือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ

วอลแตร์ - คัดค้านระบบการปกครองแบบเผด็จการ (กษัตริย์) การใช้สติปัญญาและเหตุผลสามารถแก้ไขปัญหาสังคม และการเมืองได้


อ้างอิงจาก ::


http://social-ave.exteen.com/20110209/entry-1
 

อ้างอิงจาก ::

http://social-ave.exteen.com/20110209/entry-1

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น